Inno4Farmers Batch 2019 Startups!

ประเภทอุตสาหกรรม สาขาธุรกิจเครื่องจักรกลเกษตร หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติประกอบด้วย 6 ทีม ได้แก่

1. Hanuman
เครื่องจักรกลเกษตรเคลื่อนที่แบบนั่งขับ

การสร้างรถเกษตรแบบนั่งขับขนาดเล็ก พร้อมติดตั้งเซ็นเซอร์ต่างๆไว้ในตัวรถและทำการเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือ และได้สร้างโมบายล์แอพพลิเคชั่นไว้ เพื่อการแสดงค่าต่างๆที่เซ็นเซอร์ในตัวรถรายงานค่ากลับมา และแสดงผลแบบเรียลไทม์ ซึ่งทำให้สามารถใช้แอพพลิเคชั่นช่วยวางแผนการทำงานในแปลงได้ก่อนล่วงหน้า รวมถึงเก็บค่าการทำงานบนคลาวด์ เพื่อเรียกดูข้อมูลย้อนหลังในด้านการบริการจัดการ

2. Bug Away Th Smart Drone
โดรนเพื่อการเกษตร BA10L

การพัฒนาโดรนที่ใช้ทางการเกษตร เพื่อมาพ่นสารน้ำทางการเกษตร เพื่อชดเชยการขาดแคลนแรงงานคนของเกษตรกร ลดการสัมผัสสารเคมีของผู้ใช้งาน ลดเวลาการทำงานเดิม เพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน ทำให้คุมโรคได้ไว และไม่เหยียบย้ำผลผลิต รวมทั้งสามารถสร้างอาชีพรับจ้างพ่นด้วยโดรนเพื่อการเกษตร ให้กับคนรุ่นใหม่ได้อีกด้วย

3. Smart Think
ระบบจัดการฟาร์มอัจฉริยะ(AI farm) พร้อมระบบตรวจวิเคราะห์การเติบโตและตรวจจับโรคพืช (Image Processing)

การพัฒนาเครื่องมือที่เข้ามาทำงานในการวิเคราะห์เพื่อเข้ามาช่วยคิด ก่อนตัดสินใจในการจัดการกับปัญหาต่างๆ ให้รู้ชัดเป็นข้อมูลที่จับต้องได้ไม่ใช่แค่เพียงการคาดเดา ตัวอย่างเช่น อุณหภูมิขนาดนี้ ความชื้นผิวดินขนาดนี้ ควรจะให้น้ำในแบบไหน ให้เท่าไหร่ พืชชนิดนี้มีความต้องการน้ำเท่าไหร่ อย่างไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราสามารถสร้างเครื่องมือที่เข้ามาตรวจสอบได้และ สามารถเป็นผู้ช่วยให้เกษตรกรในการทำงานและตัดสินใจ พร้อมทั้งระบบวิเคราะห์เพื่อให้รู้ก่อนเกิดปัญหาขึ้นมาแล้วอาจแก้ไขได้ไม่ทัน อุปกรณ์และเทคโนโลยีเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่จะมาเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาช่วยเกษตรกร

4. SOG Farming
GROW DE Platform

แพลตฟอร์มอัจฉริยะด้านเกษตร มาร์เก็ตเพลส ที่รวบรวมสินค้าและบริการวัสดุก่อสร้าง ระบบอัจฉริยะด้านเกษตร ผลผลิตเกษตรอินทรีย์ วัสดุก่อสร้างโรงเรือน ที่เปิดโอกาสให้เจ้าของฟาร์มหรือเกษตรกรรายย่อยสามารถเลือกซื้อของ สัมผัสรูปแบบโครงสร้างพร้อมระบบจริงก่อนตัดสินใจซื้อได้ รวมไปถึงผลผลิตเกษตรอินทรีย์ พร้อมสามารถเปรียบเทียบราคาสินค้า และเลือกผู้รับเหมาให้บริการที่ตรงกับความต้องการครบบนแพลตฟอร์มเดียว ระบบยังออกแบบสำหรับเฉพาะบุคคล หรือการทำ Personalize Customization ด้วยระบบ AI ที่ฉลาดเรียนรู้และสามารถตอบโจทย์ลูกค้าให้ได้สินค้าที่เหมาะสมกับตนเองมากยิ่งขึ้นทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหาและลดความยุ่งยากเกี่ยวกับการเลือกซื้อ

5. RIM
หุ่นยนต์รดน้ำในร่องสวน

การใช้หุ่นยนต์รดน้ำในร่องสวนสามารถช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และค่าแรงก็มีแนวโน้มสูงขึ้น อีกทั้งในอนาคตอายุของเกษตรกรเพิ่มสูงขึ้นทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานด้านการเกษตรลดลง ชาวสวนจะไม่ต้องกังวลเรื่องการจ้างคนงานรดน้ำอีกต่อไป อีกทั้งยังสามารถช่วยรดต้นทุนค่าแรง ทำให้เกษตรกรมีกำไรมากขึ้น

6. Eco and Smart GreenHouse
ระบบให้ปุ๋ยและน้ำอัจฉริยะ

ระบบให้น้ำและให้ปุ๋ยแบบอัตโนมัติ สามารถทำงานได้แม่นยำสูงกว่าการใช้แรงงานคน ซึ่งทำให้เกษตรสามารถลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยลง ไม่ผสมผิดสูตร และได้ผลผลิตที่สมำเสมอ นอกจากนี้เกษตรสามารถนำข้อมูลที่ระบบได้ทำการจัดเก็บแล้วนำไปวิเคราะห์ เพื่อการจัดการฟาร์มและการปลูกในรอบต่อๆ ได้สะดวกรวดเร็ว สามารถลดต้นทุนแรงงานลง หรือนำแรงงานที่มีอยู่ไปทำงานด้านอื่นๆ ที่เหมาะสม ทำให้ได้รอบการปลูกผลผลิตเพิ่มขึ้น 

ประเภทอุตสาหกรรม สาขาธุรกิจเกษตรดิจิทัล ประกอบด้วย 5 ทีม ได้แก่

7. SuperFarm
แพลตฟอร์มบริการทางการเกษตรอัจฉริยะ

แพลตฟอร์มบริการเกษตรอัจฉริยะเพื่อสังคม โดยการปรับใช้เทคโนโลยีในยุค 4.0 นี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับเกษตรกรภายในประเทศ โดยการพัฒนาจากสิ่งที่ใกล้ตัวเกษตรกรทุกคน คือ กระบวนการเพาะปลูก และการแจ้งเตือนข่าวสารต่างๆ ซึ่งสามารถอธิบายจุดเด่นได้ดังนี้ 1) เป็นศูนย์รวมองค์ความรู้ ข่าวสาร และการแจ้งเตือน เตือนภัย ที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถทำการเพาะปลูกได้อย่างถูกวิธี ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต ลดปัญหาหนี้สิน ลดความสูญเสียในการเพาะปลูก และ 2) เป็นศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรสำหรับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการเกษตรไทย และยกระดับการเกษตร โดยแบ่งปันข้อมูลที่จากแพลตฟอร์มให้กับหน่วยงานที่สนใจนำไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการเกษตร

8. BioMatLink
แพลตฟอร์มบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่ทางการเกษตรครบวงจร

ระบบแพลตฟอร์ม รวมเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังเข้าระบบ สมาชิกออนไลน์เชื่อมโยงกับแหล่งเงินกู้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและการเก็บข้อมูลต่างๆ ตลอดกระบวนการปลูก ขนส่ง นำมาให้สหกรณ์รวบรวมและแปรรูป สต๊อก และระบบเชื่อมโยงกับตลาด ทำให้เกษตรกรได้รับความยุติธรรมในการขาย และมีกำลังในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการปลูกให้ได้มันสำปะหลังมีคุณภาพมากขึ้นและมีตลาดรับซื้อที่มั่นคง ทำให้เกษตรกรมีรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายแล้วเพิ่มขึ้น 3,000 – 8,000 บาทต่อไร่ และจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามผลผลิตต่อไร่ที่เพิ่มขึ้น ในส่วนของโรงงานตลาดรับซื้อก็มีผลผลิตคุณภาพสูงเข้าโรงงานอย่างต่อเนื่อง สามารถบริหารได้ตลอดทั้งโซ่อุปทาน

การพัฒนาเปลี่ยนรูปแบบการทำนาแบบใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีโดรนในการหว่านข้าว หว่านปุ๋ยเม็ด ฉีดพ่นสารต่างๆ ตลอดจนโดรนบินสำรวจนาข้าวเพื่อวิเคราะห์สุขภาพพืช พร้อมระบบวัดสภาพแวดล้อม และตรวจวัดดินแบบ IoT เก็บข้อมูลในระบบ cloud เพื่อทำเป็น Big data สำหรับการใช้ระบบ AI ในการวิเคราะห์และแนะนำการปลูกข้าวให้กับผู้ดูแลหรือเกษตรกรผ่านระบบ Mobile Application ระบบนี้จะช่วยลดต้นทุนร้อยละ 10-20 และเพิ่มผลผลิตร้อยละ 10-20 ตลอดจนยกระดับคุณภาพข้าว เกษตรกรมีความปลอดภัยจากสารอันตราย ได้ข้อมูลข้าวในภาพรวม เพื่อทำการตลาดล่วงหน้าให้กับเกษตรกรได้อีกด้วย

การพัฒนาเปลี่ยนรูปแบบการทำนาแบบใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีโดรนในการหว่านข้าว หว่านปุ๋ยเม็ด ฉีดพ่นสารต่างๆ ตลอดจนโดรนบินสำรวจนาข้าวเพื่อวิเคราะห์สุขภาพพืช พร้อมระบบวัดสภาพแวดล้อม และตรวจวัดดินแบบ IoT เก็บข้อมูลในระบบ cloud เพื่อทำเป็น Big data สำหรับการใช้ระบบ AI ในการวิเคราะห์และแนะนำการปลูกข้าวให้กับผู้ดูแลหรือเกษตรกรผ่านระบบ Mobile Application ระบบนี้จะช่วยลดต้นทุนร้อยละ 10-20 และเพิ่มผลผลิตร้อยละ 10-20 ตลอดจนยกระดับคุณภาพข้าว เกษตรกรมีความปลอดภัยจากสารอันตราย ได้ข้อมูลข้าวในภาพรวม เพื่อทำการตลาดล่วงหน้าให้กับเกษตรกรได้อีกด้วย

แพลตฟอร์มระบบนิเวศสังคมเกษตรที่ให้เกษตรกรผู้ผลิต ผู้ให้บริการ ผู้จัดจำหน่าย ผู้ซื้อ และผู้ปริโภคมารวมตัวกันเพื่อสร้าง “Multisided Markets” ในช่วงโซ่ Food Supply Chain และครือข่ายนี้จะกระจายเป็นวงกว้าง เชื่อมกลุ่มคนจากทั่วทุกมุมโลกที่สามารถเข้าถึง internet เรากำลังดำเนินการยกระดับโลกของชุมชนเกษตร ให้สามารถสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจ ในท้องถิ่นและสร้างโอกาสให้กับชุมชนเชื่อมโยงผู้คนนับล้านทั่วโลก และสร้างผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจภาคสังคมเกษตร

ประเภทธุรกิจชุมชน สาขาธุรกิจเครื่องจักรกลเกษตร หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติประกอบด้วย 4 ทีม ได้แก่

ระบบรดน้ำอัตโนมัติที่สามารถจัดการรดน้ำในพื้นที่ทั้งหมด ตั้งแต่รดน้ำตรวจเช็คแรงดัน ปิดปั้มอัตโนมัติเมื่อน้ำแห้ง และหยุดรอเติมน้ำอัตโนมัติในระบบแท้งน้ำ มีความปลอดภัย และการใช้ระบบควบคุมแรงดันอัตโนมัติ ถึงแม้ว่าบุคคลจะเปิดน้ำโดยไม่มีความรู้เรื่องระบบท่อน้ำก็ไม่เกิดปัญหาเรื่องท่อน้ำแตกชำรุด รวมทั้งการใช้ระบบดูดปุ๋ยแบบกำหนดปริมาณได้ คำนวนอัตราการให้ปุ๋ยได้ โดยสามารถตั้งเวลาการทำงานในรอบสัปดาห์ได้

การพัฒนาเครื่องจ่ายส่วนผสมและน้ำขึ้นมาวางบนสายพานก่อนเข้าเครื่องอัดที่มีใบปั่นขนาดเล็กอยู่แล้วโดยอาศัยเป็นตัวผสมขนาดเล็กแทนเครื่องผสมตัวใหญ่ เพื่อช่วยลดขั้นตอนในการเพาะเห็ดซึ่งมีหลายขั้นตอน และปัจจุบันอาชีพเพาะเห็ดนั้นไม่ใช่งานง่ายสำหรับเกษตรกร จึงพัฒนาเครื่องจักรนี้ออกมา เพื่อลดขั้นตอนการผลิต และการออกแบบที่ไม่มีความซ้ำซ้อน สามารถใช้งานได้ง่าย

รถนั่งขับอเนกประสงค์ในนาดำ ที่มีรูปแบบการทำงานที่หลากหลาย ได้แก่
1) ขนย้ายแผ่นกล้าในช่วงปักดำ
2) ใช้ลากชุดแผงโซ่ เพื่อป้องการเกิดหญ้าในแปลงนา
3) ใช้ลากลูกพรวน เพื่อกำจัดหญ้าในแปลงนา
4) ฉีดพ่นน้ำยาและสารชีวภัณฑ์ต่างๆ
5) หว่านพ่นปุ๋ย และ
6) ลากร่องน้ำในแปลงนา ช่วยให้ไม่มีความจำเป็นในใช้สารเคมีในการกำจัดหญ้าในแปลงนา (เพราะใช้ชุดแผงโซ่และชุดลูกพรวน) สุขภาพของเกษตรกร ผู้บริโภคดีขึ้น  และเป็นการรักษาระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติด้วย

การสร้างโรงเรือนระบบปิด 2 ชั้นเพื่อป้องกันแมลงมารบกวนผัก,การใช้ระบบน้ำหมักอินทรีย์เชื่อมโยงกับระบบการรดน้ำอัตโนมัติ,การใช้เครื่องวัดความชื้นดินมาใช้ในการกำหนดค่าของการรดน้ำอัตโนมัติ,สามารถ Monitor ความชื้นดิน/อุณหภูมิ/ดูภาพแปลงผักผ่านมือถือได้แบบ Real time จากทุกที่ทุกเวลา,สามารถวางแผนการรดน้ำ การให้น้ำหมักอินทรีย์กับแปลงผักได้ ลดปัญหาแรงงานคนป่วย หยุดงาน,ได้ผลผลิตที่ตรงความต้องการมีคุณภาพส่งถึงมือผู้บริโภค สามารถทำระบบต่อน้ำหมักเข้าแปลงผัก เพื่อลดความขมของผัก เพิ่มความอร่อย และกำจัดศัตรูพืช ตลอดจนมีการบันทึก/ใช้งานองค์ความรู้เกษตรอินทรีย์ของการบริหารแปลงผักเพื่อต่อยอดองค์ความรู้การทำผักอินทรีย์ และเป็นจุดศึกษาเรียนรู้ของผู้สนใจปลูกผักอินทรีย์

  1. รางวัลชนะเลิศ SOG Farming : GROW DE Platform
  2. รางวัลรองชนะเลิศ Eco and Smart GreenHouse ระบบให้ปุ๋ยและน้ำอัจฉริยะ
  1. รางวัลชนะเลิศ Farmbook
  2. รางวัลรองชนะเลิศ BioMatLink
  1. รางวัลชนะเลิศ ฟาร์มเห็ดเพช็ร์รัตน
  2. รางวัลรองชนะเลิศ ลานตากฟ้า

วีดีโอ