NIA สนามโอกาสต่อยอดนวัตกรรมสตาร์ทอัพ สู่ พันธมิตรรายใหญ่

ปลาใหญ่อาจไม่ได้อยากกินปลาเล็กเสมอไป เมื่อธุรกิจสตาร์ทอัพกับองค์กรธุรกิจรายใหญ่พร้อมเดินไปด้วยกันในฐานะพันธมิตรธุรกิจ โดยมี NIA สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ เป็นสื่อกลาง

มณฑา ไก่หิรัญ ผู้จัดการส่งเสริมนวัตกรรม ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม เปิดเผยถึงการส่งเสริมและสนับสนุนในเกิดระบบนวตักรรมในประเทศผ่านโครงการ Inno 4 farmers โดยมีเป้าหมายให้กลุ่มสตาร์ทอัพด้านการเกษตร ได้มีโอกาสเข้ามาเป็นพาทเนอร์กับผู้ประกอบการรายใหญ่เพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้นวัตกรรมในด้านเกษตรของไทย ว่า เพราะการเกษตรมีความสำคัญในประเทศ ประชาชนส่วนใหญ่อาชีพเกษตรกร แต่กลุ่มเกษตรกรส่วนน้อยยังไม่นำนวัตกรรมเข้ามาใช้ ขณะเดียวกันกลุ่มสตาร์ทอัพที่มีนวัตกรรมใหม่ มีแนวทางใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาทางการเกษตรยังขาดโอกาสในการต่อยอดหรือพัฒนานวัตกรรมของตนเองในพื้นที่จริง NIA จึงเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของสนามโอกาสให้กับทั้ง 2 ฝ่าย

Inno  4 famer เป็นการบ่มเพาะเทคโนโลยีเชิงลึก หรือ Deep Technology โดยมุ่งไปที่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (Start up Early) โดยมีต้นแบบหรือมีการทดลองนวัตกรรมเหล่านั้นมาบ้างแล้วเบื้องต้นแต่อาจยังสมบูรณ์ ทาง NIA จะเปิดพื้นที่ให้จับมือกับพันธมิตรขนาดใหญ่ เพื่อต่อยอดนวัตกรรมนั้นๆ”

ปัจจุบันมี 13 บริษัทที่ร่วมสนับสนุน คลอบคลุมพืชใหญ่ทางการเกษตรของไทย ข้าว ปาล์ม อ้อย พืชผัก ผลไม้ ปศุสัวต์ โดยบริษัทเหล่านั้นจะบอกความต้องการว่าประสบกับปัญหาใดอยู่ ขณะที่ สตาร์ทอัพ จะมีแนวทางในการนำนวัตกรรมไปช่วยแก้ปัญหานั้นอย่างไร เพื่อให้ได้ตัวสินค้าที่มีคุณภาพเข้าสู่โรงงาน เมื่อสามารถจับคู่กันได้แล้ว มีการแลกเปลี่ยนปัญหาและแนวทางการแก้ไขระหว่างคู่ธุรกิจได้ลงตัว ก็สามารถจับมือเป็นพาทเนอร์กันต่อไปได้

“การจับคู่พันธมิตรจะเป็นไปในรูปแบบ Co-creation โดยทั้ง 13 องค์กรพันธมิตรจะบอกปัญหา และมาประกาศหาสตาร์ทอัพ จากนั้นมาจับคู่กันว่า สตาร์ทอัพกลุ่มนี้ตรงกับธุรกิจกลุ่มไหน ใช้นวัตกรรมอย่างไร และจะไปประยุกต์ใช้กับแต่ละองค์กรอย่างไร”

หัวใจสำคัญที่สตาร์ทอัพต้องมี เพื่อเพิ่มโอกาสในการหาคู่ธุรกิจ

ความหวังสตาร์ทอัพเกษตรเพิ่มขีดความสามารถสู่เวทีโลก

การคัดเลือกผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (Start up Early) จะต้องมี AI  เพราะ ดาต้าข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญในการทำนาย และบอกได้ว่าจุดไหนมีปัญหาและต้องการได้รับการแก้ไข  ซึ่งดาต้าที่ได้มาต้องมีเรื่องของ IOT เชื่อมโยงหรือส่งข้อมูล ขบวนการเก็บข้อมูล การใช้โดรน เพื่อมาทดแทนแรงงานที่ขาดแคลน และต้องมีการทำต้นแบบและผลการทดลองมาแล้วเบื้องต้น

“ บางคนคิดอยู่ในห้องอยู่ในคอมพิวเตอร์มันเป็นไปได้ พอไปลงจริงๆ เป็นอย่างไรบ้าง มี สตาร์ทอัพบางราย ทำข้อมูลมาเยอะมาก แต่ไม่เคยลงไปที่สวน มีแนวทาง ใช้ห้องแล็บเป็นหลัก แต่โครงการนี้ไม่ได้ให้มานั่งอบรม แต่ให้นำนวัตกรรมลงไปทำจริงๆ เลยเพื่อจะได้รู้ คุณจะได้โจทย์ใหม่ที่ท้าทาย ถ้าคุณพิสูจน์ได้ คุณจะสามารถปรับได้เลย ลูกค้าจะมีอีกเยอะทั้งในและต่างประเทศ”

ผู้จัดการส่งเสริมนวัตกรรม ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม  มองว่า โครงการ Inno  4 farmers จะเป็นตัวอย่างในคนอยากมาทำมากขึ้น เพราะถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เนื่องจากประเทศไทยการเกษตรเยอะ แต่การเติบโตทางเศรษฐกิจหรือ GDP ยังน้อย ชาวนายังมีรายได้ต่ำ ทาง NIA จะเข้ามาช่วยพลิกโฉมการเกษตร

“จากพึ่งฟ้า ฝนเทวดา นำวิทยาศาตร์เข้ามา นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้นวัตกรรมแล้วมาแก้ไขปัญหา”

สุดท้ายจะกลายเป็นปลาเล็กกินปลาใหญ่?

ผู้จัดการส่งเสริมนวัตกรรม ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม บอกถึงประเด็นนี้ ว่าเป็นการรับเทคโนโลยีที่สตาร์ทอัพเสนอเข้ามาใช้มากกว่า เป็นเหมือนการทำงานร่วมกัน ร่วมมือ ต่อยอดไปด้วยกัน เพราะเราต้องยอมรับว่า สตาร์ทอัพเป็นคนกลุ่มเล็กๆ ที่อาจปรับอะไรได้รวดเร็ว ถ้าเรามีบริษัทใหญ่มาร่วม ช่วยต่อยอด มันจะไปได้เร็วขึ้นอีก

ขณะที่บริษัทใหญ่ แทนที่จะไปนั่งทำงานวิจัย พัฒนาด้วยตัวเอง ลองหานวัตกรรมใหม่ๆ จาก คนรุ่นใหม่ๆ และคนที่มองเห็นปัญหาทางการเกษตร ที่จะหาต้องไปหาจุดแก้ไขร่วมกัน

“ สตาร์ทอัพ ก็ต้องเปิดใจว่าที่คุณคิดอยู่มันใช่หรือเปล่า เพราะที่คุณบอกอยู่อาจจะไม่ใช่ก็ได้ เพราะคุณอาจจะเรียนรู้ที่กลุ่มเล็กๆ แต่หากจับมือกันได้จะมีคนมาชี้นำ ชี้แนวทาง มาเสริมสร้างพร้อมเติบโตไปด้วยกัน”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *